วันอาทิตย์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 10


วันจันทร์ที่ 19 สิงหาคม 2556
เวลา 08.30-12.20

-นำเสนอการทดลองทางวิทยาศาสตร์

ครั้งที่ 9


วันจันทร์ที่ 12 สิงหาคม 2556

เวลา 8.30-12.20 น. 

ไม่มีการเรียนการสอน

เนื่องจากเป็นวันแม่เเห่งชาติ


ครั้งที่ 8


วันจันทร์ที่ 5 สิงหาคม 2556

เวลา 8.30-12.20 น.

ไม่มีการเรียนการสอน
เนื่องจากเป็นการสอบกลางภาค
 
เรื่องน่ารู้ มุมวิทยาศาสตร์



          ธรรมชาติของเด็กปฐมวัยทุกคนมีความเป็นนักสำรวจโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าอยู่ในตัวเอง เด็กจะใช้การดู ฟัง ดม ชิม และสัมผัสเพื่อค้นหาคำตอบ มุมวิทยาศาสตร์จึงเป็นมุมที่ตอบสนองต่อความต้องการของเด็กได้เป็นอย่างดีสื่อที่ควรจัดไว้ในมุมวิทยาศาสตร์ควรเป็นสื่อจากธรรมชาติ เช่น เปลือกหอย ก้อนหิน เมล็ดพืช รังนก ต้นไม้ ฯลฯ อาจมีการเลี้ยงปลา มีอุปกรณ์อื่นๆ เช่น แว่นขยาย แม่เหล็ก สายวัด คาไลโดสโคป หนังสือหรือโปสเตอร์เกี่ยวกับการทดลอง ชีวิตสัตว์ หรือเรื่องอื่นๆ ที่เด็กสนใจสำรวจและเรียนรู้ ควรจัดให้มีเครื่องเขียน และกระดาษสำหรับบันทึกไว้ด้วย

ครั้งที่ 7

เรียนชดเชย

วันอาทิตย์ที่ 28 กรกฎาคม 2556
 
เวลา 8.30-12.20 น.

* ฉันไม่ได้เข้าเรียน เนื่องจากไม่สบาย

ครั้งที่ 6


วันจันทร์ที่ 22 กรกฎาคม 2556

เวลา 8.30-12.20 น. 


ไม่มีการเรียนการสอน

เป็นวันหยุดอาสาฬหบูชา

*หมายเหตุ เรียนชดเชยในวันอาทิตย์ที่ 28 กรกฎาคม 2556

ครั้งที่ 5

วันจันทร์ที่ 15 กรกฎาคม 2556
เวลา 8.30-12.20 น.

วันนี้อาจารย์ให้นำเสนองานสิ่งประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์ทุกคน และพร้อมให้คำแนะนำ ในการประดิษฐ์อาจารย์ได้แบ่งออกเป็น 3 ชิ้น คือ
         1.งานประดิษฐ์ของเล่น
         2.งานประดิษฐ์ที่ใช้ในมุมวิทยาศาสตร์
         3.งานประดิษฐ์สำหรับทดลอง

สิ่งประดิษฐ์ชิ้นที่ 1 ลูกโฟมลอยอากาศ

อุปกรณ์

            1.หลอด
            2.ลูกโฟม
วิธีทำ

ใช้หลอดที่งอได้ ตัดปลายให้เป็นแฉกเพื่อวางลูกโฟม

วิธีเล่น

นำลูกโฟมมาวางที่ปลายหลอดที่ตัดไว้ แล้วเป่าลม

หลักการทางวิทยาศาสตร์ของโยโย่

           เป็นแรงดันของลม ซึ่งเมื่อเราเป่าลมทางด้านหนึ่งแรงดันของลมจะทำให้ลูกโฟมลอยตัวขึ้น



อาจารย์ได้เปิด VDO
รายการ iSci ความฉลาดแบบยกกำลังสอง ทางช่อง Thaipes

ครั้งที่ 4

วันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคม 2556
เวลา 8.30 - 12.20 น.

- อาจารย์ให้พับกระดาษแบ่งออกเป็น 8 แผ่น แล้วก็วาดรูปที่มุมกระดาษ โดยให้เราวาดตามจินตนาการและให้สังเกตว่าภาพที่เราวาดนั้นเคลื่อนไหวได้อย่างไร (ข้าพเจ้าวาดรูปบ้าน) ดังภาพที่ปรากฏนี้





ครั้งที่ 3

วันจันทร์ที่ 17 กรกฎาคม 2556


เวลา 8.30-12.20 น.


- วันนี้อาจารย์ได้กลับมาสรุปเนื้อหาในเรื่องของวิทยาศาสตร์อีกครั้ง โดยครั้งนี้
อาจารย์ได้แยกออกมาเป็นหัวข้อให้เห็นได้ชัดขึ้นในรูปของ Mind Mappingส่วนของเนื้อหาที่พิมพ์ลงไปนั้นอาจารย์จะถามนักศึกษาและเอาคำตอบจากของนักศึกษาเป็นเนื้อหาในแต่ละหัวข้อนั้นๆ 




- อาจารย์ได้พูดถึงการดู CD เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว คือ เรื่อง มหัศจรรย์ของน้ำ ว่าเนื้อหาเป็นอย่างไรพร้อมกับสรุปให้นักศึกษาฟัง หลังจากสรุปเรื่องนี้เสร็จ
- อาจารย์ให้ดู CD เรื่อง คือ เรื่องความลับของแสง
ความรู้ที่ได้จากการดูวีดีโอเรื่อง ความลับของแสง
แสงคือ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic wave) ประเภทหนึ่ง ซึ่งอยู่ในช่วงความยาวคลื่นที่สายตามนุษย์มองเห็น หรือบางครั้งอาจรวมถึงการแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าในช่วงความยาวคลื่นตั้งแต่รังสีอินฟราเรด (Infrared) ถึงรังสีอัลตราไวโอเลต (Ultraviolet) ด้วย
       ความถี่ของคลื่นแสงที่แตกต่างกันนั้นขึ้นอยู่กับความเร็วในการสั่นสะเทือน ถ้าหากคลื่นแสงยิ่งมีความสั่นสะเทือนมากก็จะยิ่งมีความถี่มากแต่ความยาวคลื่นก็จะยิ่งน้อย โดยแสงที่เรามองเห็นได้นั้นเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่ในระดับที่ดวงตาของมนุษย์สามารถมองเห็นได้ ซึ่งปกติแล้วแสงจะเคลื่อนที่ในสุญญากาศด้วยความเร็ว 299,792,458 เมตรต่อวินาที
จำแนกวัตถุตามการส่องผ่านของแสงได้ดังนี้
วัตถุโปร่งใส คือวัตถุที่ยอมให้แสงส่องทะลุผ่านได้โดยง่าย
วัตถุโปร่งแสง คือวัตถุที่ยอมให้แสงผ่านไปได้เพียงบางส่วน
วัตถุทึบแสง คือวัตถุที่ไม่ยอมให้แสงผ่านไปได้เลย
สมบัติพื้นฐานของแสง
ความเข้ม (ความสว่างหรือแอมพลิจูด) ซึ่งปรากฏแก่สายตามนุษย์ในรูปความสว่างของแสง
ความถี่ (หรือความยาวคลื่น) ซึ่งปรากฏแก่สายตามนุษย์ในรูปสีของแสง
โพลาไรเซชัน ( มุมการสั่นของคลื่น) ซึ่งโดยปกติมนุษย์ไม่สามารถรับรู้ได้                     

วิธีการนำเสนอ
            นำเสนอโดยวิธีการทำให้เห็นหรือแสดงให้ดู ให้เราเห็นวิธีการทดลองและผลการทดลองเป็นอย่างไร
      
- อาจารย์อธิบายสิ่งประดิษฐ์วิทยาศาสตร์ที่ให้ดูนี้สอนเกี่ยวกับเรื่องอะไร 

ประยุกต์ใช้อย่างไร

     - นำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ในการสังเกตความเปลี่ยนแปลงของสิ่งรอบตัวและปรับให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงนั้น

 งานที่ได้รับมอบหมาย

      - ให้นักศึกษาคิดสื่อของเล่นวิทยาศาสตร์ที่ประดิษฐ์ขึ้นจากวัสดุที่เหลือใช้ มา 1 ชิ้น
      - ให้เก็บใบไม้ 1 ใบ และทำให้แห้ง 

ครั้งที่ 2


วันจันทร์ที่ 24 มิถุนายน 2556

เวลา 8.30-12.20 น.

- อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ6คนและอ่านสรุปบทความที่อาจารย์ให้มาตามหัวข้อดังนี้คือ
1.ความหมายของวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก
2.ความสำคัญของวิทยาศาสตร์
3.กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
4.แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
5.อุปสรรคการเรียนรู้

- อาจารย์ให้ดู vdo และอธิบายเกียวกับเนื้อหาvdoดังนี้1.เนื้อหาvdoเรื่อง  น้ำ2.มีอะไรบ้างรู้จักการเกิดของน้ำฝน3.vdoเรื่องน้ำได้ทำกิจกรรมอย่างไรบ้าง

วันเสาร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 1


วันจันทร์ที่ 17 มิถุนายน 2556


เวลา 8.30-12.20 น.

- วันนี้เรียนเป็นคาบแรกอาจารย์ได้ปฐมนิเทศเกี่ยวกับเนื้อหาการเรียนพร้อมสร้างข้อตกลงเกี่ยวกับการเรียนวิชานี้ 
- อาจารย์ได้สั่งให้นักศึกษาทำบล๊อคเหมือนเดิมโดยในรายละเอียดของบล๊อคต้องมีเนื้อหาที่เป็นภาษาอังกฤษแทรกอยู่ด้วย
- อาจารย์สอนในวันนี้ คือ เรื่องของพัฒนาการเด็กปฐมวัย ตามด้วยเรื่องของ การจัดประสบการณ์ และเรื่องของวิทยาศาสตร์กับเด็กปฐมวัย 
- อาจารย์ยังสอนการทำ Mind Mapping ลงบล๊อคและได้ให้ไปบันทึกบล๊อคพร้อมกับมาลิงค์ในสัปดาห์หน้า

ได้ความรู้อะไร
- ได้รู้เกี่ยวกับความหมายของพัฒนาการ
- ได้รู้เกี่ยวกับเรื่องของสาระการเรียนรู้
- ได้รู้เกี่ยวกับแนวการสอน การจัดประสบการณ์ วิทยาศาสตร์เด็กปฐมวัย
- ได้รู้วิธีการทำ Mind Mapping




ได้ทักษะอะไร
- ได้ทักษะการใช้เทคโนโลยีกับการเรียน
- ได้ทักษะการคิดและวิเคราะห์
- ได้ทักษะใช้ภาษา

ประยุกต์ใช้อย่างไร



- นำไปประยุกต์ใช้โดยการบันทึกข้อมูลในคาบเรียนแล้วนำมาถ่ายทอดด้วยบล๊อคที่สร้างขึ้นมาเพื่อจะนำความรู้นี้ไปใช้ในชีวิตประจำวันและการจัดประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับในเรื่องนี้